ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ลิ้นจี่ ผลไม้พันปี..นักวิจัยเข้า​ถอดรหัส​จีโนมได้สำเร็จ​แล้ว

ลิ้นจี่ ผลไม้พันปี..นักวิจัยเข้า​ถอดรหัส​จีโนมได้สำเร็จ​แล้ว

นักวิจัยเข้า​ถอดรหัส​จีโนม “ลิ้นจี่” ผผลไม้พันปีได้สำเร็จทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินำโดย​ศาสตราจารย์ Jianguo Li แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรเซาท์ไชน่า ได้ถอดรหัสจีโนมของ”ลิ้นจี่” ผลไม้พื้นเมืองเอเชียที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน

ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงในวงศ์ SAPINDACEAE (วงศ์เดียวกับเงาะและลำไย) มีต้นเนิดทางตอนใต้ของจีน และสันนิษฐาน​ว่าแพร่เข้ามาในไทยช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์

ลิ้นจี่นั้นถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง ที่ทรงบัญชาให้ทหารม้านำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ฉางอานเพื่อให้ได้ทรงเสวยตามพระประสงค์

ลักษณะโดยทั่วไปของลิ้นจี่เป็นไม้ที่มีพุ่มต้นไม่สูงนัก โดยมากสูงไม่เกิน 10 – 12 เมตร พุ่มทึบ เป็นไม้ไม่ผลัดใบที่มีอายุยืนที่สุด โดยพบต้นที่มีอายุมากกว่า 1, 250 ปี ในบริเวณวัดของเมืองปูเทียน มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ทียังคงให้ผลผลิตอยู่จนทุกวันนี้

กลุ่มพันธุ์ของลิ้นจี่ในไทยอาจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 กลุ่มตามการปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิ คือ กลุ่มที่ต้องการความหนาวเย็นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถออกดอกได้ (ที่พบในไทยคือพันธุ์​ช่อระกา กระโถนท้องพระโรง แห้ว สำเภาแก้ว เขียวหวาน)​ และกลุ่มที่ต้องการความหนาวเย็นเป็นเวลานานจึงจะออกดอก (ที่พบในไทยคือพันธุ์ฮงฮวย โอวเฮียะ อีไว จักรพรรดิ จุกบีจี้ กวางเจา และกิมเอ็ง)

แต่สำหรับในประเทศจีน การถอดรหัส​จีโนม​ทำให้เราทราบวิวัฒนาการ​ของลิ้นจี่สวนว่า มีต้นกำเนิดมาจาก​ลิ้นจี่ป่าแถบมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ต่อมาได้แผ่ขยายไปทางตะวันออกและใต้เข้าสู่เกาะไหหลำ ลิ้นจี่ในยูนนาน​เป็นสายพันธุ์​ที่ออกดอก​เร็ว ส่วนในเกาะไหห​ลำ​จะเป็นลิ้นจี่​ที่ออกดอกช่วงปลายปี​ ทีมงานพบว่าสายพันธุ์​ทั้ง 2 เริ่มวิวัฒนาการ​แยกออกจากกันเมื่อ​ประมาณ​ 18,000 ปีก่อน

รายการบล็อกของฉัน