แปลกแต่จริง!! นี่คือสะพานที่มีชีวิตแห่งเดียวในโลกที่ประเทศอินเดีย
สะพานที่มีชีวิตนี้ สร้างโดยชาวเผ่ากะสิ (Khasi) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบรัฐเมฆาลัย (Meghalaya) รัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
ซึ่งในปัจจุบันหนึ่งในสามของรัฐนี้ยังคงปกคลุมไปด้วยป่าไม้ เทคนิคการสร้างสะพานต้นไม้นี้ ชาวเผ่ากะสิได้รับมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมมาร่วม 500 ปี
และสืบทอดกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น สะพานสร้างขึ้นจาก ต้นยางอินเดีย (Ficus Elastica) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่มีรากแตกแขนงระโยงระยางออกมาตามลำต้น สามารถยึดเกาะอยู่บนโขดหินขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำหรือกลางลำน้ำได้อย่างแข็งแรงแน่นหนา
วิธีการสร้างสะพานทำได้โดยนำไม้มาพาดระหว่าง 2 ฝั่งลำธารที่มีต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่ จากนั้นจึงนำรากของต้นไม้พันรอบแกนไม้ที่พาด
เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี รากไม้เหล่านี้จะเจริญเติบโตจนกลายเป็นสะพานในที่สุด
เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี รากไม้เหล่านี้จะเจริญเติบโตจนกลายเป็นสะพานในที่สุด
สะพานต้นไม้นี้มีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก สามารถรับน้ำหนักคนได้ถึง 50 คน และที่สำคัญในกระบวนการตั้งแต่เริ่มสร้างสะพานจนถึงใช้งานได้ ไม่มีการรบกวนธรรมชาติแม้แต่น้อย ไม่ต่างอะไรกับการปลูกต้นไม้ขึ้นสักต้น
และเนื่องจากสะพานรากไม้ของที่นี่เป็นสิ่ง “มีชีวิต” มันจึงยิ่งโตและแข็งแรงแน่นหนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ทำให้สะพานรากไม้ในบางจุดมีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี
แต่ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงตราบจนกระทั่งปัจจุบัน สะพานรากไม้ลักษณะนี้มีอยู่หลายจุดด้วยกัน แต่สะพานรากไม้สองชั้นมีอยู่สะพานเดียวคือ “สะพานรากไม้สองชั้น Umshiang” นั่นเอง