ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ตะลังตังช้าง พืชอันตราย


ตะลังตังช้าง พืชอันตราย
เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวรีแล็กซ์ ที่จังหวัดเลย ได้ไปเที่ยวที่เชียงคาน ได้ไปเที่ยวที่ภูหลวงรู้สึกประทับใจมากเลยครับ ทั้งนี้ ก็เลยไปเก็บเอาบรรยากาศต่าง ๆ มาเพียบเลยครับ แต่ได้ไปอ่านป้ายตามเส้นทางเดินป่าที่เขียนว่า “อันตรายจากพืช” ผมสะดุดกับคำนี้มากเลยครับ ผมเลยนึกถึงพืชอันตรายชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า
“ตะลังตังช้าง”
ที่จริงผมเองรู้จักกับเจ้าพืชนี้มาได้พอสมควรแล้วล่ะครับ เพราะสมัยเรียนประถม ได้อ่านบันทึก เสด็จประพาสต้น ของ ร.5 และหลังจากนั้นผมก็ลืม 

จนกระทั้ง ผมได้ไปพบอีกครั้งที่จังหวัด นครศรีธรรมราช แต่ในการพบครั้งนั้น ผมยังไม่มีความสามารถพอที่จะเขียนบทความแบบนี้ มาถึงตอนนี้
เลยขอนำเสนอตะลังตังช้างครับ
ที่จริงแล้วพืชที่ชื่อ “ตะลังตังช้าง”
อาจมีลักษณะ ที่แตกต่าง กันไปตาม สภาพพื้นที่นะครับ แต่ถ้า ดูโดยรวมก็หมายถึงพืชมีพิษ ชนิดหนึ่ง ซึ่งที่มาของชื่อนี้ก็มาจากพิษของมันที่สามารถทำให้สัตว์ใหญ่อย่างช้างกลัวได้นั่นเองครับ

แต่ที่ผมจะนำเสนอ ผมจะนำเสนอ ดังนี้
พืชชนิดที่ 1เป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Laportea crenulata Wedl.  ชื่อพ้อง Dendrocnide sinuate Chew.  และมีชื่ออังกฤษ Devil Nettle; Elephant Nettle; Fever Nettle  จัดอยู่ในวงศ์ Urtiaceae
 
ตะลังตังช้างเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบรูปไข่ปลายใบแหลมขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นช่อดอกออกที่ง่ามระหว่างใบกับลำต้น เป็นช่อดอกชนิดที่ดอกตรงกลางบานก่อน เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียแยกกันอยู่ต่างดอกบน
พืชต้นเดียวกัน
ส่วนที่เป็นพิษคือ Stinging hair
ซึ่งอยู่ตามลำต้น กิ่ง ใบ
ซึ่งสารพิษที่พบได้ในพืชชนิดนี้ก็คือ formic acid ซึ่งจะพบได้ในส่วน stinging hair นั่นเองครับ

ความเป็นพิษ กะลังตังช้างเป็นพืชที่มี
พิษมาก ถ้าขนถูกศีรษะทำให้ผมไหม้และเกิดการเจ็บปวดเป็นเวลานาน
หลายวัน ความเป็นพิษของพืชนี้
รุนแรงมากในขณะ
ที่มีดอก ถ้าถูกทำให้จามนอนไม่หลับเพราะความเจ็บปวด และเป็นไข้ ในบางท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียใช้ขนของพืชนี้ผสมกับน้ำคั้นจากต้นยางน่อง (Antiaris toxicaria (Pers.) Lesch.) อาบลูกศร

ส่วนพืชชนิดที่ 2 นี้ มีชื่อเรียกเช่นเดียวกันคือจะเป็นพืชที่มีชื่อทางพฤษศาสตร์.....Laportea Stimolns  และจัดอยู่ในวงศ์ Urticaceae  ซึ่งมีชื่อเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "กะลังตังช้าง" ท้องถิ่นเรียกว่า "รังตังช้าง" ปักษ์ใต้เรียก "ลังตังช้าง" ภาคพายัพเรียก "หานเดื่อ" ส่วนทางทหารเขียนว่า "ตะรังตังช้าง"

ลักษณะของพืชชนิดนี้.เป็นต้นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีใบโตขนาดใบสัก เป็นขนสีขาวออกหนาตลอดต้น ไม้ชนิดนี้ ขนออกมันมีพิษ ถ้าไปถูกเข้า ขนของมันก็จะคายพิษออกมาทำให้เกิดอาการคัน ผู้ที่ถูกเข้าจะมีอาการคันและเกาจนหนังถลอกเป็นแผลเรื้อรัง อาการเจ็บปวดเป็นกำลัง น้ำเหลืองจะแตกออกเป็นแผล ซึมออกไปทำให้เป็นแผลต่อไปอีก บางทีมีอาการแสบปวดร้อน บวม และอาการแน่น ถึงตายได้ ถ้าถูกขนติดมากไป
ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน บอกว่า

ตะรังตังช้างหมายถึง...ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Dendrocnide sinuata (Blume) Chew ในวงศ์ Urticaceae ใบใหญ่ ขอบจัก ถูกเข้าจะปวดคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง

รายการบล็อกของฉัน