กระเทียมเถา
ต้นกระเทียมเถา ไม้เลื้อยกลิ่นรุนแรงเหมือนชื่อ "กระเทียม" แต่เพราะดอกสีสวย
จึงพอจะกลบเกลื่อนกลิ่นฉุนๆได้.
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachyptera hymenaea., A. Gentry
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ: Garlic Vine
ชื่อพื้นเมือง: -
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ: Garlic Vine
ชื่อพื้นเมือง: -
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดกลาง มีลำต้นเป็นเถาใหญ่ แข็งแรง สามารถเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 เมตร เถาอ่อนและส่วนยอดจะเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล ผิวเรียบเกลี้ยง
ใบ มีใบประเภทใบประกอบ มีใบย่อย 1 คู่ ออกตรงข้ามกันตามข้อต้น เป็นไม้ใบบางแต่แข็งกระด้างใบรีหรือมน หรือใบรูปไข่ขอบใบเรียบ ปลายใบและโคนใบแหลม ก้านใบสั้น มีมือเกาะอยู่ระหว่างใบย่อยแต่ละคู่ในขณะ
ที่ใบยังอ่อน
ใบ มีใบประเภทใบประกอบ มีใบย่อย 1 คู่ ออกตรงข้ามกันตามข้อต้น เป็นไม้ใบบางแต่แข็งกระด้างใบรีหรือมน หรือใบรูปไข่ขอบใบเรียบ ปลายใบและโคนใบแหลม ก้านใบสั้น มีมือเกาะอยู่ระหว่างใบย่อยแต่ละคู่ในขณะ
ที่ใบยังอ่อน
ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้น หรือตามโคนกาบใบ ช่อหนึ่งจะมีประมาณ 10-20 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบลักษณะดอกจะเป็นรูปกรวยปากบาน หรือรูปแตร มีกลีบดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกบานใหม่ ๆ จะเป็นสีขาว แล้วจะกลายเป็นสีชมพูและสีม่วง เมื่อแก่จัด มีเกสรตัวผู้ภายในดอก 4 อัน สั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน ในช่วงที่ออกดอก กระเทียมเถาจะทิ้งใบหมด
ฝัก แบน กว้าง รูปขอบขนาน ปลายแหลม ฝักแก่จะแตกออกตามรอยประสานทั้ง 2 ด้าน
เมล็ด มีจำนวนมาก แบน ด้านข้างมีปีกบางใสทั้ง 2 ด้าน
เมล็ด มีจำนวนมาก แบน ด้านข้างมีปีกบางใสทั้ง 2 ด้าน
ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกปีละครั้ง เดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธุ์ หรือออกดอกในช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว
การขยายพันธุ์: การปักชำ การตอน การทาบกิ่ง และเพาะเมล็ด
การปลูก: ปลูกลงดิน โดยไม่นิยมปลูกลงกระถางและเหมาะที่จะปลูกตามซุ้มประตูบ้าน ริมรั้วบ้าน หรือสวนภายในบ้าน และสวนสาธารณะ เป็นต้น
การดูแลรักษา: ปลูกในดินร่วนปนทราย หรือในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำปานกลาง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ใบมีกลิ่นคล้ายกระเทียม
การปลูก: ปลูกลงดิน โดยไม่นิยมปลูกลงกระถางและเหมาะที่จะปลูกตามซุ้มประตูบ้าน ริมรั้วบ้าน หรือสวนภายในบ้าน และสวนสาธารณะ เป็นต้น
การดูแลรักษา: ปลูกในดินร่วนปนทราย หรือในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำปานกลาง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ใบมีกลิ่นคล้ายกระเทียม
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- บริโภค
ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโก ถึงบราซิล
แหล่งที่พบ: ทุกภาคของประเทศไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค: ใบอ่อน
การปรุงอาหาร: ใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
- บริโภค
ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโก ถึงบราซิล
แหล่งที่พบ: ทุกภาคของประเทศไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค: ใบอ่อน
การปรุงอาหาร: ใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก