ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กะถินแดง

♢กะถินแดง
กะถินแดงหรือแฉลบแดงเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae (วงศ์ย่อย Mimosoideae) มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Acacia leucophloea (Roxb.) Willd. เรียก พญาไม้ (กาญจนบุรี) ก็มี พบขึ้นประปรายในป่าทุ่งและป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ เป็นพืชที่ชอบแสงสว่าง ขึ้นได้บนพื้นที่เสื่อมโทรมและทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี

♤ต้นกะถินแดงเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง ๑๒ เมตร เรือนยอดแบนแผ่กว้างคล้ายร่ม เปลือกเรียบ สีเขียวอ่อน มีประด่างกระจายอยู่ทั่วไป ตามผิวอาจพบตกสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ ไม่เป็นระเบียบ เมื่อลำต้นมีอายุมากขึ้นเปลือกมักจะขรุขระและมีสีเข้มขึ้น ตามโคนกิ่งมีหนามแหลมกระจัดกระจาย 

♤ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น มีขนละเอียดคลุมบางๆ ก้านใบประกอบสั้นมาก รอยต่อระหว่างปลายก้านใบประกอบกับช่อใบคู่ล่างสุดมีตุ่มหูดปรากฏชัดเจน ใบประกอบแต่ละใบมีช่อใบ ๕-๑๒ คู่ แต่ละช่อใบมีใบย่อย ๑๕-๓๐ คู่ ใบย่อยเล็กมาก คล้ายรูเข็ม ไม่มีก้านใบ ใบย่อยแต่ละคู่ขึ้นชิดซ้อนกัน ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ ฐานใบค่อนข้างเบี้ยว 
♤ดอกมีขนาดเล็กมาก เป็นช่อกลมเล็ก สีขาวอมเหลือง ไม่มีก้านดอก มีจำนวนมากอยู่บนช่อใหญ่ที่แตกแขนงออกมาตามปลายกิ่ง มีขนละเอียดสีขาวอมเหลืองปกคลุมทั่วไป กลีบเลี้ยงติดกันแบบรูปแตร กลีบดอกติดกัน ปลายกลีบยื่นออกมาเหนือกลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้อื่นออกมาเหนือส่วนอื่นๆ ของกลีบดอก 
ฝักกะถินแดง
♤ติดผลยาก ตัวฝักโค้งเล็กน้อย ปลายฝักมนหรือมีติ่งสั้นๆ มีขนละเอียดสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมหนาแน่น ฝักแก่จะแตกออกตามตะเข็บด้านข้าง เมล็ดรูปไข่ แบน สีน้ำตาลคล้ำ เป็นมัน มี ๙-๒๐ เมล็ดตำราสรรพคุณยาโบราณว่าเปลือกต้นมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ท้องเสียชาวบ้านบางถิ่นใช้น้ำฝาดสีแดงปนน้ำตาลจากเปลือกต้นเป็นสีย้อม เช่น ใช้ย้อมหนัง ผ้า แห
เนื้อไม้มีสีน้ำตาลปนแดงถึงสีอิฐ ค่อนข้างแข็ง แน่น เสี้ยนสนมักมีเส้นสีอ่อนและสีแก่กว่าสีพื้นสลับ ขัดเขาได้ดี ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ทำเครื่องเรือน ใช้ทำพื้นเรือน ใช้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ และกังหัน

รายการบล็อกของฉัน