ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขอบชะนางแดง

ขอบชะนางแดง
■ขอบชะนางแดง
ขอบชะนาง มีอยู่ ๒ ชนิด คือ “ขอบชะนางขาว”
และ “ขอบชะนางแดง” ซึ่งได้จากพืชสมุนไพรในวงศ์ Urticaceae ๒ ชนิดคือ ชนิดที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Pouzolzia zeylanica Benn.
ชอบชะนางขาว2222(Pouzolzia indica Gaud.) และ Pouzolzia pentandra Benn. มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เปลือกมืนดิน (แม่ฮ่องสอน) หญ้าหนอนตาย(พายัพ) หญ้ามูกมาย(ลพบุรี สระบุรี)
พืชทั้งสองชนิดนี้ต้นจะตั้งตรงและเป็นพืชขนาดเล็ก เมื่อโตขึ้นต้นจะเลื้อยทอดยาวไปตามผิวดิน ลักษณะใบเป็นแบบใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปไข่กว้าง ๑-๑.๕ ซม. ยาว ๒-๓ ซม. สีเขียวอ่อน ส่วนใบขอบชะนางแดง

♤ใบเป็นแบบรูปหอก กว้าง ๑.๕-๒.๕ ซม. ยาว ๕-๘ ซม. มีสีเขียวแกมน้ำตาลบริเวณหลังใบ และมีสีม่วงแดงที่ท้องใบ
♤ดอกเป็นดอกช่อและออกเป็นกระจุกที่บริเวณซอกใบ เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ส่วนขอบชะนางขาวมีดอกย่อยเป็นสีขาวนวล ขอบชะนางแดงมีดอกย่อยเป็นสีแดง ผลเป็นลักษณะผลแห้งและไม่แตกขอบชะนางแดง2222

♤ตามตำราของสรรพคุณยาไทยโบราณว่า ต้น ใบ และ
ดอกมีรสเบื่อเมา น้ำต้มต้นขอบชะนางเป็นยาฆ่าหนอนและแมลงได้ดี เมื่อหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในน้ำหล่อปากไหปลาร้าที่มีหนอนก็จะทำให้หนอนตายหมด
แพทย์โบราณได้ใช้ขอบชะนางปรุงเป็นยาขับประจำเดือนและขับระดูขาว แก้หนองใน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เม็ดผื่นคันตามตัว ขับปัสสาวะ ใบตำพอกฝี เพื่อขจัดหนอง แก้ปวดบวม แก้อักเสบ โดยใช้ต้นขอบชะนางทั้งสองชนิดรวมกัน เรียกว่า ขอบชะนางทั้งสอง

รายการบล็อกของฉัน