ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ต้นพันงูเขียว

พันงูเขียว ชื่อสามัญ Brazilian Tea, Bastard Vervain, Jamaica False Veravin, Arron’s Rod
พันงูเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl จัดอยู่ในวงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)
สมุนไพรพันงูเขียว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เจ๊กจับกบ (ตราด), เดือยงู พระอินทร์โปรย (ชุมพร), หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ), สี่บาท สารพัดพิษ (ภาคกลาง), หญ้าหางงู (ภาคใต้), ลังถึ่งดุ๊ก (กระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เล้งเปียง (จีนแต้จิ๋ว), ยี่หลงเปียน ยวี่หลงเปียน เจี่ยหม่าเปียน (จีนกลาง), ฉลกบาท, หญ้าพันงูเขียว เป็นต้น
ลักษณะของพันงูเขียว
ต้นพันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร
ใบพันงูเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร
ดอกพันงูเขียว ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีม่วงน้ำเงิน เป็นรูปกลมงอเล็กน้อย มีกลีบดอก 5 กลีบ มีกาบใบ 1 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันเลื่อย 4-5 หยัก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน และมีรังไข่ 2 ห้อง ดอกจะออกในช่วงฤดูร้อน


ผลพันงูเขียว ผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ พบได้ในบริเวณช่อดอก ถ้าแห้งแล้วจะแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ด
สรรพคุณของพันงูเขียว
*ทั้งต้นมีรสขม ชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ใหญ่ *ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
*ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ (ทั้งต้น)
*ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง (ทั้งต้น) ตำรับยาแก้ตาบวม ตาแดง ตาอักเสบ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น 35 กรัม, เจียไก้หลาน 35 กรัม และอิไต้เถิง 25 กรัม นำมารวมกันตำผสมกับพิมเสนเล็กน้อย ใช้พอกบริเวณตาที่บวม (ทั้งต้น)
*ใบใช้รักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ
ตาล ใช้เป็นยาอม (ใบ,ทั้งต้น)
ช่วยรักษาอาการอาเจียน (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ทั้งต้น)
*เปลือกต้นใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสียและโรคบิด (เปลือกต้น) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบเป็นยาแก้โรคบิด (ใบ)ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ทั้งต้น)
ใช้ขับพยาธิในเด็ก (ใบ)
ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ *รักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองใน (ทั้งต้น) *ส่วนอีกข้อมูลระบุว่ารากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหนองใน (ราก)
*รากมีสรรพคุณทำให้แท้ง (ราก)
*ต้นสดใช้ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ แผลเปื่อย ฝีและหนอง และพิษอักเสบปวดบวม (ทั้งต้น)
*ใบใช้เป็นยาทารักษาฝีหนอง (ใบ)
ตำรับยาแก้บวม ฟกช้ำ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น, โกฐดอกขาว และสือเชียนเถา อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาตำผสมกับกับเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น
(ทั้งต้น)
*ใบใช้ตำพอกแก้เคล็ด (ใบ)
*ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ (ทั้งต้น)
*ใบใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อย
(ใบ)รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลม
ชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย (ทั้งต้น)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม  ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา หากนำมาใช้ภายนอกให้นำมาตำพอก
บริเวณที่ต้องการ

รายการบล็อกของฉัน