ดร.บีซี วูฟเวอร์ตัน นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยอวกาศองค์การนาซาของอเมริกาได้ทำวิจัยมากว่า 25 ปี ค้นพบถึงประสิทธิภาพของการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศของไม้ประดับ และได้เขียนหนังสือเรื่อง Eco-Friendly House Plant แนะนำไม้ประดับที่มีความสามารถดูดไอพิษจากอากาศเช่น สารพิษ ฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน ฯลฯ จำนวนถึง 50 ชนิด ธรรมชาติสร้างให้ไม้ประดับเล็กๆ มีความสามารถดึงดูดจุลินทรีย์ให้มาอยู่บนหรือรอบๆรากของมันซึ่งมีความย่อย สลายโครงสร้างอินทรีย์สารที่ซับซ้อนได้ใบของต้นไม้ยังสามารถดูดซับสาร อินทรีย์ที่เป็นแก๊สและย่อยหรือถ่ายโอนของเสียไปยังรากเพื่อใช้เป็นอาหาร
สำหรับจุลินทรีย์ เหตุนี้เองทำให้ไม้ประดับสามารถดูดสารพิษได้อีกทั้งกระบวนการ “คายน้ำ” ก็เป็นอีกวิธีที่พืชใช้เคลื่อนย้ายสารที่เป็นมลพิษ ไปยังจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆรากของมันกระบวนการคายน้ำต้องใช้กระแสความร้อน ทำให้เกิดการไหลเวียนของอากาศในขณะที่น้ำไหลจากรากขึ้นไปยังส่วนต่างๆ ของพืชอย่างรวดเร็วอากาศจะถูกดึงลงไปสู่ดินรอบๆรากก๊าซออกซิเจนและก๊าซ ไนโตรเจนในอากาศเมื่อถูกดึงไปอยู่ที่รากก๊าซไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนไปโดย จุลินทรีย์เป็นไนเตรทกลายเป็นอาหารของพืช
กระบวนการคายน้ำและสังเคราะห์อาหาร ได้เองของพืชจำพวกไม้ประดับนี่เองที่ดูดสารพิษ นั่นก็เพราะต้นไม้โดยเฉพาะจำพวกที่อยู่ในตระกูลไม้ประดับ เป็นพืชที่มีการปรับตัว และเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงน้อย และสามารถดูดสารพิษด้วยกรรมวิธีการคายน้ำ โดยจะทำการดูดก๊าซพิษที่อยู่รอบๆ ลงสู่ดินและจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆ รากจะเป็น ตัวเปลี่ยนให้สารพิษเหล่านั้นกลายไปเป็นอาหารของพืชนั่นเอง
ไม้ประดับที่แนะนำ
เข็มริมแดง ,หนวดปลาหมึก ,เศรษฐีรับเงิน ,
แววมยุรา ,เศรษฐีเรือนใน ,เดหลี ,เขียวหมื่นปี ,โกสน ,เศรษฐีเรือนนอก ,
พลูด่าง ,หมากเหลือง ,จั๋ง ,ปาล์มไผ่ ,ยางอินเดีย ,ไอวี่ ,สิบสองปันนา ,
ไทรใบเล็ก ,บอสตันเฟิร์น ,วาสนาอธิษฐาน ,เบญจมาศ ,เยอบีร่า ,ประกายเงิน ,
มรกตแดง ,ออมทอง ,สาวน้อยปะแป้ง ,ปาล์มใบไผ่ ,ไทรย้อยใบแหลม ,ฟิโลเดนดรอน ,
ฟิโลใบหัวใจ ,ลิ้นมังกร ,ฟิโลหูช้าง ,สนฉัตร ,เสน่ห์จันทร์แดง ,กล้วยแคระ ,กล้วยไม้พันธุ์หวาย ,
ดอกหน้าวัว,ต้นคริสต์มาส,หางจระเข้ ,สับปะรดสี ,กุหลาบหิน
ที่มาอ้างอิง : หนังสือไม้ประดับดูดสารพิษ โดย คมสัน หุตะแพทย์
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen