ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

กล้วยอีเห็น ชื่อเป็นกล้วยแต่ไม่ใช่กล้วย กล้วยอีเห็นเป็นพันธ์ุไม้เลื้อยโบราณพบได้เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้

กล้วยอีเห็น ชื่อเป็นกล้วยแต่ไม่ใช่กล้วย
กล้วยอีเห็นเป็นพันธ์ุไม้เลื้อยโบราณพบได้เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้

ชื่อกล้วยแต่ไม่เหมือนกล้วยเลยนะครับ
กล้วยอีเห็นฉันยังเป็นไม้เลื้อยอีกต่างหากแล้วทำไมมันชื่อถึงชื่อกล้วยล่ะ

กล้วยอีเห็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Uvaria dac Pierre ex Finet & Gagnep.) ชื่ออื่นๆ พีพวน (เลย อุดรธานี) เป็นพืชที่พบได้เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ตามป่าดิบแล้งหรือตามริมห้วย เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีขนรูปดาวสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเลี้ยงคู่ และเป็นพืชดอก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กล้วยอีเห็น มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีขนรูปดาวสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเลี้ยงคู่ และเป็นพืชดอก

ใบเกิดเดี่ยวๆ เรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 4-7.5 ซม. ยาว 8-16.5 ซม. ผิวใบมีขนปกคลุมเล็กน้อยโดยเฉพาะบริเวณเส้นใบ

ดอกเกิดเดี่ยวๆ หรือออกเป็นกระจุกๆละ 2 ดอก ออกที่ปลายกิ่งหรือตรงข้ามใบ กลีบดอก 6 กลีบ สีขาวหรือสีเหลืองนวล รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.3-2.5 ซม. เรียงเป็น 2 วงๆ ละ 3 กลีบ วงนอกใหญ่กว่าวงในเล็กน้อย มีขนสั้นนุ่มปกคลุม เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบานประมาณ 2-4.5 ซม.


ข้อมูลเบื้องต้น กล้วยอีเห็น, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

ผลเป็นผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 1-4.5 ซม. มีผลย่อย 7-5 ผล ผลย่อยรูปขอบขนานโค้องขึ้นยาว 4-7 ซม. ผิวผลขรุขระ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีเหลือง มี 7-8 เมล็ด ระยะเวลาออกดอกเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงมิถุนายน ผลแก่หลังจากดอกบานประมาณ 5 เดือน...

การกระจายพันธุ์
กล้วยอีเห็น เป็นพืชที่พบได้เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ตามป่าดิบแล้งหรือตามริมห้วย

รายการบล็อกของฉัน