ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

ประวัติศาสตร์ของชาเขียวและที่มาที่ไปต้นกำเนิดจากที่ไหน และ ชาเขียวมาที่ไทยได้อย่างไร


ประวัติศาสตร์ของชาเขียวและที่มาที่ไปต้นกำเนิดจากที่ไหน และ ชาเขียวมาที่ไทยได้อย่างไร

ชาเขียว (ญี่ปุ่น: 緑茶; โรมาจิ: ryokucha) , จีน: 绿茶 - พินอิน: lǜchá, เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชในชนิด Camellia sinensis เช่นเดียวกับ ชาขาว ชาดำ และชาอู่หลง ชาที่ไม่ผ่านการหมัก 

ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำชาจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนกว่าอู่หลง ชาเขียวหลงจิ่งที่ราคาสูงที่สุด คือ ฉือเฟิ่งหลงจิ่ง ที่ชงจากใบ จะให้กลิ่นหอมอ่อน ๆ บ้างว่าคล้ายถั่วเขียว รสฝาดน้อย เซนฉะที่ชงจากใบมีกลิ่นอ่อน ๆ 


จนเข้มได้ขึ้นกับการคั่ว บางครั้งมีรสอุมามิจนถึงรสหวานที่รับรู้ได้เฉพาะบางคนเท่านั้น น้ำมันในตัวชาเขียวผ่านการกลั่นมีผลดีต่อร่างกาย ในประเทศไทยจะมีการแต่งกลิ่นเพื่อให้เกิดความน่ารับประทานมากขึ้น

ประวัติ
ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมาแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดินามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร ผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า 


และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงศตวรรษต่าง ๆ ดังนี้

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3
ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่ 3 ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อย ๆ


ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 และ 5
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่นคือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมากระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ


สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 906)
ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ

สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 - 1279)
ชาได้เติมเครื่องเทศแบบในสมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบาง ๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ

สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644)
ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มีการรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่ดี 

ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วยโดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้

ในประเทศไทย
ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ทางภาคเหนือ


ประเภท
ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวญี่ปุ่น เป็นชาประเภทย่อยในชาญี่ปุ่น มีกรรมวิธีการรผลิตคือทำให้แห้งด้วยการอบไอน้ำอย่างรวดเร็ว หรือการนึ่ง มีบางชนิดที่ใช้การคั่ว และการผสม
ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวจีน จะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน
ชาเขียวญี่ปุ่น

ที่รู้จักกันทั่วไปในไทย
มัตชะ ,เกียวกุโระ
เซ็นชะ ,โฮจิชะ
เก็มไมชะ,ชาเขียวจีน
หลงจิ่ง,ปี้หลัวชุน

รายการบล็อกของฉัน