ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

คุณประโยชน์ของ กล้วย


กล้วยน้ำว้า

        กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ไทยๆ ที่มีมาแต่โบราณแล้ว คนไทยทุกคนเกิดมาก็ต้องรู้จักกล้วยน้ำว้าเป็นอย่างดี เพราะปลูกง่าย โตเร็ว ออกดอก และให้ผลผลิตที่เร็วพอๆ กับการแตกหน่อใหม่เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป

        กล้วย เป็นไม้ผลที่คนไทยรู้จักกันมานาน เนื่องจากกล้วยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า กล้วยมีวิวัฒนาการถึง ๕๐ ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นไม้ผลที่มนุษย์รู้จักบริโภคเป็นอาหารกันอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่า กล้วยเป็นไม้ผลชนิดแรก ที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน และได้แพร่พันธุ์จากเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังดินแดนอื่นๆ ในระยะเวลาต่อมา

        กล้วย มีการปลูกกันมากในเอเชียใต้ ปัจจุบัน ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีการปลูกกล้วยมากที่สุดในโลก และมีพันธุ์กล้วยมากมายอีกด้วย เหมาะสมกับที่มีการกล่าวกันไว้ในหนังสือของชาวอาหรับว่า "กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย" 

        ต่อมา ได้มีหมอของจักรพรรดิโรมันแห่งกรุงโรมชื่อว่า แอนโตนิอุส มูซา (Antonius Musa) ได้นำหน่อกล้วยจากอินเดีย ไปปลูกทางตอนเหนือของอียิปต์ เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลังจากนั้น มีการแพร่ขยายพันธุ์กล้วยไปในดินแดนของแอฟริกา ที่ชาวอาหรับเข้าไปค้าขาย และพำนักอาศัย จนกระทั่งเมื่อประมาณ ค.ศ. ๙๖๕ ได้มีการกล่าวถึงกล้วยว่า ใช้ในการประกอบอาหารชนิดหนึ่งของชาวอาหรับ ซึ่งอร่อย และเป็นที่เลื่องลือมาก ชื่อว่า กาลาอิฟ (Kalaif ) เป็นอาหารที่ปรุงด้วยกล้วย เมล็ดอัลมอนด์ น้ำผึ้ง ผสมกับน้ำมันนัต (Nut oil) ซึ่งสกัดจากผลไม้เปลือกแข็งชนิดหนึ่ง นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ชาวอาหรับยังใช้กล้วยทำยาอีกด้วย ชาวอาหรับเรียกกล้วยว่า "มูซา" ตามชื่อของหมอ ที่เป็นผู้นำกล้วยเข้ามาในอียิปต์เป็นครั้งแรก

        ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ชาวโปรตุเกสได้เดินเรือไปค้าขายบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา และได้นำกล้วยไปแพร่พันธุ์ที่หมู่เกาะคะแนรี ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป หลังจากนั้น ชาวสเปนจึงได้นำกล้วยจากหมู่เกาะคะแนรีเข้าไปปลูกในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกในอเมริกากลาง โดยเริ่มปลูก ที่อาณานิคมซันโตโดมิงโก บนเกาะฮิสปันโยลาเป็นแห่งแรก แล้วขยายไปปลูกที่เกาะอื่นในเวลาต่อมา ส่งผลให้ดินแดนในอเมริกากลางมีการปลูกกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจกันอย่างแพร่หลาย และนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ได้กลายเป็นแหล่งปลูกกล้วยส่งเป็นสินค้าออกมากที่สุดของโลก โดยปลูกมากในประเทศคอสตาริกา และประเทศฮอนดูรัส

        ในบรรดากล้วยในบ้านเรา กว่า 20 ชนิด กล้วยน้ำว้า ถือว่าเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะเนื่องจากในผลกล้วยจะมีวิตามินบี 1 และบี 2 ที่ช่วยในการเร่งเผาผลาญ น้ำตาลและไขมัน ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการเหนื่อยล้า อีกทั้งยังมีโพแทสเซียมช่วยในการขับโซเดียม อันเป็นหนึ่งในตัวการที่จะทำให้ความดันเลือดสูงออกทางปัสสาวะ และส่งผลให้ลดการบวมของร่างกายได้ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการ ที่ได้จากกล้วยน้ำว้า ไม่ว่าจะผลดิบ ห่าม หรือสุก กล้วยก็สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายรูปแบบ และรสชาติความอร่อยก็ไม่ซ้ำแบบกัน

กล้วยน้ำว้าสุกงอม นำมาครูด หรือขูดเบาๆ สามารถใช้เป็นอาหารสำหรับเด็กทารกเนื่องจากย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง

กล้วยน้ำว้าดิบและห่าม นำมาใช้ทำแกงคั่ว แกงเผ็ด ทำกล้วยฉาบ ปิ้ง นึ่ง ทอด อบ กวน และเชื่อม

กล้วยน้ำว้าสุก นำมาทำเป็นของหวาน เช่น กล้วยบวชชี กล้วยแขก กล้วยตาก ขนมกล้วย

        หัวปลี ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของแกงเลียง เป็นอาหารบำรุงน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด หรือใส่ต้มข่า ต้มยำ ยำหัวปลี ลวกหรือเผาจิ้มน้ำพริก ใช้เป็นเครื่องเคียง ผัดไทย ผัดหมี่ เต้าเจี้ยวหลน กะปิหลน ขนมจีนน้ำพริก ก็ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยมากยิ่งขึ้นได้

        หลายคนอาจมองจะมองว่าเป็นผลไม้ที่ไม่น่าจะให้พลังงานได้เยอะ แต่เชื่อหรือไม่ว่า กล้วยน้ำว้าเป็นแหล่งพลังงานสำรองชั้นดี เพราะใน 1 ผล สามารถให้พลังงานถึง 100 แคลอรี ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลธรรมชาติอยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุกโทส และกลูโครส รวมไปถึงเส้นใยและกากอาหาร

        กล้วยน้ำว้า มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ช่วยป้องกันโรคความดัน และสารอาหารจำพวกโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับมนุษย์อยู่หลายชนิด

หัวปลี 

-ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร

ผลสุก

-เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด 

เปลือกกล้วย

-บรรเทาอาการคันอันเนื่องมาจากแมลงกัดต่อย และผื่นแดงจากอาการคัน รักษาโรคหูดบนผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อ ที่เกิดจากบาดแผล

ยางกล้วย

-ใช้ในการห้ามเลือดได้

ราก

-แก้ขัดเบา

ก้านใบตอง

-ช่วยลดอาการบวมของฝี (ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกๆ

ใบอ่อน

-นำไปอังไฟให้นิ่ม ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้

ใบตอง

-นำมาใช้ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงในงานต่างๆ
 
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้ากล้วยน้ำว้า 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้

-พลังงาน       122 กิโลแคลอรี

-โปรตีน         1.2 กรัม

-ไนอาซิน       0.6  มิลลิกรัม

-วิตามินซี       14.0  มิลลิกรัม

-คาร์โบไฮเดรต 26.1 กรัม

-แคลเซียม       12.0 มิลลิกรัม

-ไขมัน             0.3 กรัม

-ฟอสฟอรัส       32.0 มิลลิกรัม

-วิตามินเอ         375 หน่วยสากล

-เหล็ก             0.8 มิลลิกรัม

-วิตามินบี 1      0.03 มิลลิกรัม

-วิตามินบี2       0.04 มิลลิกรัม

-น้ำ                 7.6 กรัม

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า
แก้อาการนอนไม่หลับ
-มีส่วนช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน
-รักษาโรคซึมเศร้า และช่วยลดความเครียดได้ เนื่องจากสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน ทริปโตเฟน ที่อยู่ในกล้วยมีส่วนช่วยในการผลิตสารเซโรโทนิน หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อฮอร์โมนแห่งความสุข จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อรับประทานแล้วจึงทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้นได้

บรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
-หากกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย ถ่ายเป็นเลือดหรือเป็นโรคริดสีดวงทวาร กล้วยน้ำว้าช่วยได้ เพราะมีกากใยจำนวนมาก ทำให้อุจจาระนุ่ม จึงมีส่วนช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-มีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ด้วย เป็นยาระบายช่วยแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติ เนื่องมาจากสารเพคติน จะเป็นตัวเพิ่มใยอาหารให้กับลำไส้ เมื่อลำไส้มีกากอาหารมาก จะไปดันผนังลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้เกิดการบีบตัว จึงทำให้รู้สึกอยากถ่าย

รักษาโรคโลหิตจาง
-กล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูง จึงช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด ผู้ที่มีปัญหาโลหิตจางจึงสามารถรับประทานเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้

บรรเทาโรคกระเพาะอาหาร
-กล้วยน้ำว้าดิบมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยจะออกฤทธิ์สมานแผลและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อเมือกในกระเพาะ

-ลดอาการเสียดท้อง รวมถึงช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารด้วย ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ ควรรับประทานเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยรักษาแผลลำไส้ชนิดเรื้อรัง เพราะกล้วยน้ำว้านั้นมี มีเซโรโทนิน ซึ่งช่วยให้กระเพาะหลั่งเมือกมาปกคลุม ทำให้กรดไม่สามารถกัดกะเพราะได้

หมายเหตุ ในกล้วยดิบ จะกระตุ้นเซลล์ในเยื่อบุกระเพาะเพื่อหลั่งสารพวก “มิวซิน” ออกมาเคลือบกระเพาะ ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะ

แก้อาการท้องเสีย
-กล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยสารแทนนิน ซึ่งมีส่วนช่วยรักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่รุนแรง (แทนนินทำให้ท้องผูก) แก้อาการท้องเสีย

        โดยการนำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แตกแดด 2 วัน ให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว หรือน้ำผึ้ง ทานก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมง หรือก่อนนอนทุกวัน

ช่วยชะลอความแก่
-สารต้านอนุมูลอิสระที่อุดมอยู่ในกล้วยน้ำว้ามีส่วนช่วยชะลอความแก่ได้ ดังนั้นผู้ที่อยากชะลอวัยให้ผิวพรรณยังแลดูอ่อนเยาว์ ควรรับประทานเป็นประจำ

        อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยบรรเทาผิวหยาบกร้านให้กลับมานุ่มและชุ่มชื่นคือ การมาส์กผิวด้วยกล้วยน้ำว้า โดยนำกล้วยสุกมาบดให้ละเอียด เติมน้ำผึ้งประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน นำไปพอกบริเวณผิวที่หยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยให้ผิวนุ่มเนียนขึ้น

ช่วยลดน้ำหนัก
-กล้วยน้ำว้ามีส่วนช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้ และมีกากใยสูงซึ่งช่วยให้อิ่มไว จึงช่วยลดอาการอยากรับประทานของจุบจิบได้

ช่วยลดกลิ่นปาก 

-การรับประทานกล้วยน้ำว้า 1 ผลในตอนยเช้า ก่อนแปรงฟัน จะช่วยลดกลิ่นปากลงได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งน้ำยาบ้วนปากเลย

รักษาอาการเจ็บคอ ไอแห้ง 

-ผู้ที่มีปัญหาไอ เจ็บคออย่างหนัก ให้ลองรับประทานกล้วยน้ำว้าวันละ 4-6 ผล โดยที่จะแบ่งรับประทานกี่ครั้งก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้รับประทานครั้งเดียวเพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการจุกเสียดและอาเจียนได้

แก้ผื่นคันจากยุงกัด 
-หากมีผื่นคันจากการถูกยุงกัด แนะนำให้ใช้เปลือกกล้วยรักษา โดยใช้ด้านในของเปลือกมาทาบริเวณที่ถูกยุงกัด จะทำให้อาการคันลดลง

ข้อควรระวังการบริโภคกล้วยน้ำว้า
-การรับประทานกล้วยน้ำว้าในปริมาณมาก โดยเฉพาะกล้วยที่ยังอยู่ในช่วงห่าม อาจทำให้เกิดการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เพราะมีแทนนินมาก

-กล้วยน้ำว้าสุก มีฤทธิ์ช่วยในการระบาย และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับถ่าย หากรับประทานติดต่อกันในปริมาณมาก อาจส่งผลให้เกิดการท้องเสีย
กินกล้วยน้ำว้าแล้วอ้วนไหม
        เนื่องจากกล้วยน้ำว้า ให้พลังงานมากกว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ (1 ผล = 100 กิโลแคลอรี่) การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงานเกินความจำเป็น จนอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ แต่หากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ก็นับเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีเลยทีเดียว
 
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชม

รายการบล็อกของฉัน