พบซากดึกดำบรรพ์คล้ายสาหร่ายแดงอายุ 1,600 ล้านปี
ซากดึกดำบรรพ์สาหร่ายสีแดงอายุ 1,200 ล้านปีในแถบอาร์กติกแคนาดาได้ถูกทำลายสถิติความเก่าแก่แล้ว เนื่องด้วยนักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ด้านภูมิศาสตร์ชีววิทยาแห่งชาติสวีเดนได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะคล้ายสาหร่ายสีแดงในหินตะกอนที่อุดมด้วยแร่ฟอสเฟต ที่เมืองจิตตะกูด อยู่ในภาคกลางของประเทศอินเดีย คาดว่าจะมีอายุมากถึง 1,600 ล้านปี
ซากคล้ายสาหร่ายแดงที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดที่มีโครงสร้างเซลล์เป็นกระเปาะ ส่วนอีกชนิดมีลักษณะคล้ายเส้นใยซึ่งมีคุณสมบัติสังเคราะห์แสงโดยเปลี่ยนแสงแดดเป็นพลังงานเคมี ทำให้เกิดออกซิเจนในอากาศ สันนิษฐานว่าพวกมันอาศัยอยู่บริเวณที่ตื้นๆของน้ำทะเลร่วมกับคราบแบคทีเรียในธรรมชาติ และอาจอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดได้เช่นกัน นอกจากนี้ซากดังกล่าวยังเป็นหลักฐานการค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเก่าแก่อย่าง
ยูแคริโอต (eukaryotes) ที่มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่นๆอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช เชื้อรา และสัตว์
ยูแคริโอต (eukaryotes) ที่มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่นๆอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช เชื้อรา และสัตว์
อย่างไรก็ตาม การค้นพบซากดึกดำบรรพ์คล้ายสาหร่ายแดงอาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ประเมินระยะเวลาการเกิดของต้นไม้ต้นแรกของโลกได้ สำหรับสาหร่ายสีแดงนั้นรู้จักกันในชื่อโนริ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารญี่ปุ่นอย่างซูชิ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวอย่างขบขันว่าโลกของเรานั้นน่าจะมีเมนูซูชิตั้งแต่ 1,600 ล้านปีมาแล้วแน่เลย.