ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ต้น นูดพระ

นูดพระ
นูดพระ ชื่อวิทยาศาสตร์ Flemingia strobilifera (L.) R. Br. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Maughania strobilifera (L.) J. St.-Hil. ex Kuntze)[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Flemingia strobilifera (L.) W.T.Aiton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Moghania strobilifera (L.) J.St.-Hil., Moghania strobilifera (L.) Jacks.)

โดยจัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรนูดพระ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ดัง (นครพนม), หงอนไก่ (ภาคเหนือ) ส่วนที่นครศรีธรรมราชเรียกว่า “นูดพระ” เป็นต้น[
ลักษณะของนูดพระ

ต้นนูดพระ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขน มักขึ้นตามที่โล่งแจ้งและที่มีร่มเงา ที่ระดับความสูงประมาณ 200-450 เมตร
ต้นนูดพระ

ใบนูดพระ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเรียบ ส่วนด้านล่างมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม มีหูใบเป็นรูปใบหอกปลายเรียวแหลม ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร

ใบนูดพระ
ดอกนูดพระ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีใบประกอบเป็นรูปเกือบกลมถึงรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร บางคล้ายเยื่อมีลักษณะม้วนพับและติดทน ส่วนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีขาวครีม มีลายเส้นสีชมพู ลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว มีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกันสองกลุ่ม รังไข่มีขน

ดอกนูดพระ
ผลนูดพระ ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนาน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปวงกลม

ผลนูดพระ
สรรพคุณของนูดพระ
ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากนูดพระ นำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบแก้อาการปวดเมื่อย (ราก)

รายการบล็อกของฉัน