ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ดอกโฮย่าลูกศร

อยู่โดดเดี่ยวในป่าดงดิบที่จังหวัดระนอง@@@@

ดอกโฮย่าลูกศร หรือ ต้างไม้พันงู หรือ ฟันงู หรือ ต้าง

ดูรูปใกล้เข้ามาอีกนิดครับ ดอกสวย แต่เขาว่าไม่มีกลิ่นครับ

ลักษณะการขึ้นของโฮย่าชนิดนี้ ต้นนี้พบบนคาคบไม้สูงราวๆ 5 เมตร จากพื้นดิน

ชื่อไทย ต้างไม้พันงู หรือ ต้าง หรือเรียกตามลักษณะดอกว่า โฮย่าลูกศร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hoya multiflora Blume

วงศ์ ASCLEPIADACEAE

ลักษณะ เป็นไม้เลื้อยกึ่งพุ่ม ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน รูปยาวแคบแกมขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบเรียบ มีขนาดกว้าง 2.5-6.5 ซม. ยาว 7.5-20 ซม. ผิวเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.8-1.2 ซม. ดอกสีขาวครีม ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด มีดอกจำนวนมาก ก้านช่อยาว 2.5-3 ซม. ก้านดอกเรียวเล็ก ยาว 5-6 ซม. ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก สีเหลือง กลีบกว้างประมาณ 4 มม. ยาว 12 มม. เมื่อบานกลีบดอกจะกลับลงข้างล่าง ที่โคนดอกมีเส้าเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงสูง มีรยางค์ปลายแหลมงอน 5 อัน ผิวมันเป็นเงา ผลเป็นฝักคู่ ขนาดกว้าง 6-8 มม. ยาว 18-20 ซม. เปลือกบางเรียบ เมล็ดรูปขอบขนาน มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6 มม. ปลายตัดตรง มีขนเป็นมันเหมือนไหมติดเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาล

การกระจายพันธุ์ และนิสัย พบขึ้นกระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบในป่าดิบชื้น ตามคาคบไม้ หรือซอกหิน ใกล้ริมลำธาร

ระยะออกดอก-ผล ออกดอกติดผลเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน

ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ น้ำภายในต้นใช้ขับปัสสาวะ ใบบดละเอียดใช้ทาแก้เคล็ดบวม แก้ปวดข้อ

ที่มาของข้อมูล ฐานข้อมูลพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

การไปเที่ยวป่า ทำให้เราพบสิ่งบันเทิงใจหลายอย่าง ทั้งนก ต้นไม้ ดอกไม้

โปรดช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อที่ลูกหลานของเราจะได้ชื่นชมสิ่งสวยๆ งามๆ บ้างนะครับ

รายการบล็อกของฉัน