ฝ้าย ชื่อวิทยาศาสตร์ Gossypium hirsutum Linn.
จัดอยู่ในวงศ์ MALVACEAE
บทความ
ลักษณะของต้นฝ้ายต้นฝ้าย มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและเชียตอนใต้ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร
ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีขนละเอียดขึ้นหนาแน่น
ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีขนละเอียดขึ้นหนาแน่น
ใบฝ้าย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ขอบใบเว้าลึกเป็น 3-5 แฉก ใบมีขนาดกว้างและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
ดอกฝ้าย ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมชมพูหลังจากดอกบานเต็มที่
ผลฝ้าย ผลเป็นผลแห้ง แตกออกได้ตามพูเป็น 3 ฝา ภายในมีเมล็ดมีขนยาวสีขาวห่อหุ้มอยู่ใน
ปุยฝ้าย หรือ เส้นใยฝ้าย คือ เซลล์ผิวของเปลือกเมล็ดซึ่งมีรูปร่างยาวคล้ายเส้นผม การแยกเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้าย จะเรียกว่า “การหีบฝ้าย” เส้นใยฝ้ายที่ได้นี้สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายรูปแบบ การเก็บฝ้ายในบ้านเรามักเก็บด้วยมือ
โดยเลือกจากผลฝ้ายที่แตกแล้ว ดึงเส้นใยออกจากสมอ ส่งไปโรงงายหีบฝ้ายเพื่อทำการแยกเมล็ดออก หลังจากนั้นจะนำเส้นใยไปทำสำลี ปั่นเป็นเส้นด้าย หรืออัดเป็นแท่ง ส่วนเมล็ดฝ้ายที่แยกเอาเส้นใยออกไปแล้วจะนำไปสกัดเอาน้ำมัน
โดยเลือกจากผลฝ้ายที่แตกแล้ว ดึงเส้นใยออกจากสมอ ส่งไปโรงงายหีบฝ้ายเพื่อทำการแยกเมล็ดออก หลังจากนั้นจะนำเส้นใยไปทำสำลี ปั่นเป็นเส้นด้าย หรืออัดเป็นแท่ง ส่วนเมล็ดฝ้ายที่แยกเอาเส้นใยออกไปแล้วจะนำไปสกัดเอาน้ำมัน
สรรพคุณของฝ้ายตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบฝ้าย ผสมกับใบมะม่วง ใบมะนาวป่า ใบขมิ้น ใบไพล และใบตะไคร้ นำมาต้มเคี่ยว ดื่มกินเป็นยารักษานิ่ว (ใบ)
เมล็ดฝ้ายใช้ผสมกับแก่นข่อย แก่นฝาง หัวตะไคร้ เลือดแรด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ ข้นคล้ำ (เมล็ด)
จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ได้ระบุว่าฝ้ายชนิด Gossypium hirsutum L. ที่กล่าวถึงในบทความนี้ มีสรรพคุณใกล้เคียงกับฝ้ายขาว (Gossypium herbaceum L.) ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนกันได้
เมล็ดฝ้ายใช้ผสมกับแก่นข่อย แก่นฝาง หัวตะไคร้ เลือดแรด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ ข้นคล้ำ (เมล็ด)
จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ได้ระบุว่าฝ้ายชนิด Gossypium hirsutum L. ที่กล่าวถึงในบทความนี้ มีสรรพคุณใกล้เคียงกับฝ้ายขาว (Gossypium herbaceum L.) ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนกันได้