โรครากเน่า(Root rot)
สาเหตุ: เชื้อรา Phytophthora capsici
ลักษณะอาการ: ต้นเหี่ยว ใบตก รากเน่าสีน้ำตาลแดงถึงดำ ไม่มีกลิ่น
การแพร่ระบาด: ดิน ฝน น้ำ
*การป้องกันกำจัด เสริมความแข็งแรงให้พืช
*เตรียมดินด้วยปูนขาวร่วมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ย่อยดินให้ร่วนซุยปรับความเป็น
*กรด-ด่างให้มีค่าประมาณ 5.4-5.8 พริกหวานปลูกในโรงเรือน ปรับความเป็น
*กรด-ด่างของน้ำที่ใช้ในระบบน้ำหยดให้มีค่า 5.4 -5.8
*ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักที่ผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ไตรโคเดอร์มา และบาซิลลัสซับติลิส 1-2 กำมือ
*หมั่นตรวจแปลง พบโรครวบรวมนำออกทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง
*เปิดหน้าดินตากแดด
หยุดการระบาดด้วยเมทาแลคซิล หรือฟอสอีทิลอะลูมิเนียมโดยการผสมน้ำ
ราดในหลุมเฉพาะต้นที่มีอาการ ดำเนินการหลุมต่อหลุม และให้น้ำเพียงพอดี
ระบาดรุนแรง ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี หรือมากกว่า สลับกับพืชอื่น
แนวทางแก้ไข เมื่อพบโรคนี้ในระบบ คือ
*เก็บพืช และเศษรากพืชที่เป็นโรคออกจากแปลงให้หมด เพื่อลดปริมาณของเชื้อ
*ถ่ายสารละลายในถังออกให้หมด เพื่อช่วยลดเชื้อในสารละลาย
เลี้ยงผักที่ pH สูงๆ ประมาณ 6.5-7 และ EC ต่ำๆ ประมาณ1.0-1.2 นาน ประมาณ 7 วัน เพื่อรักษารากที่เสีย และให้รากใหม่งอกออกมา ซึ่งจะทำให้เชื้อราลดลงได้ เนื่องจากเชื้อพิเทียม เจริญได้ดีในสภาพกรดอ่อน
*พลางแสง ช่วยลดการคายน้ำ เพื่อลดกิจกรรมของรากพืชลง
*ใส่เชื้อราไตรโคเดอม่า เข้าไปช่วยกำจัดเชื้อพิเทียม และทำให้รากแข็งแรงขึ้นเมื่อรากแข็งแรงดี จึงค่อยกดค่า pH ลงในช่วงปกติ
hydrowork
*การป้องกันเชื้อพิเทียมให้มีจำนวนน้อย ในช่วงหน้าร้อนนี้
*การป้องกันเชื้อพิเทียมให้มีจำนวนน้อย ในช่วงหน้าร้อนนี้
เลี้ยงผักที่ pH ประมาณ 6.5 – 6.8 เนื่องจาก เชื้อไตรโคเดอมา จะต่อต้าน เชื้อพิเทียม ที่ pH สูง ได้ดีกว่าที่ pH ต่ำ
*ใช้เหล็กแดง ที่เสถียรที่ Ph สูงขึ้น เช่น เหล็ก EDDHA แทน เหล็ก EDTA เนื่องจาก เหล็ก EDTA จะตกตะกอนหมด หากสารละลายมี pH เกิน 6.5 พืชอาจขาดธาตุเหล็กได้
*พยายามรักษาอุณหภูมิของสารละลาย ไม่เกิน 30 องศา c เนื่องพิเทียมจะเจริญดีที่อุณหภูมิสูง
เพื่อการรักษาเยียวยาพืช เมื่อพบการระบาดของเชื้อพิเทียม ก่อนจะสายเกินไป สามารถปรับใช้ได้ ตั้งแต่แปลงขนาดเล็ก จนถึงฟาร์มขนาดใหญ่เลยครับ โรครากเน่า โคนเน่า เกิดจากเชื้อรา พิเทียม ที่มักพบเจอได้บ่อย ในผักที่ปลูกในระบบ ไฮโดรโพนิกส์ โรคนี้จะแพร่ระบาดทางสารละลายธาตุอาหาร จึงพบการระบาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นระบบที่มีการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะในระบบที่ใช้น้ำรวมกัน แบบ 1 ถัง แจกจ่ายไปใช้ทุกแปลง จะยิ่งเพิ่มการระบาดในวงกว้างมากขึ้นครับ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen