ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โรครากเน่าของพืช (Root rot)

โรครากเน่า(Root rot)
สาเหตุ:  เชื้อรา Phytophthora capsici
ลักษณะอาการ:   ต้นเหี่ยว ใบตก รากเน่าสีน้ำตาลแดงถึงดำ ไม่มีกลิ่น 
การแพร่ระบาด:    ดิน   ฝน   น้ำ
*การป้องกันกำจัด เสริมความแข็งแรงให้พืช       
*เตรียมดินด้วยปูนขาวร่วมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ย่อยดินให้ร่วนซุยปรับความเป็น   
*กรด-ด่างให้มีค่าประมาณ 5.4-5.8   พริกหวานปลูกในโรงเรือน ปรับความเป็น   
*กรด-ด่างของน้ำที่ใช้ในระบบน้ำหยดให้มีค่า 5.4 -5.8  
*ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก  และปุ๋ยหมักที่ผสมจุลินทรีย์ปฏิปักษ์  ไตรโคเดอร์มา   และบาซิลลัสซับติลิส 1-2 กำมือ  
*หมั่นตรวจแปลง พบโรครวบรวมนำออกทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง 
*เปิดหน้าดินตากแดด
    
หยุดการระบาดด้วยเมทาแลคซิล  หรือฟอสอีทิลอะลูมิเนียมโดยการผสมน้ำ 
ราดในหลุมเฉพาะต้นที่มีอาการ   ดำเนินการหลุมต่อหลุม  และให้น้ำเพียงพอดี   
ระบาดรุนแรง ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี หรือมากกว่า  สลับกับพืชอื่น

แนวทางแก้ไข เมื่อพบโรคนี้ในระบบ คือ
*เก็บพืช และเศษรากพืชที่เป็นโรคออกจากแปลงให้หมด  เพื่อลดปริมาณของเชื้อ
*ถ่ายสารละลายในถังออกให้หมด  เพื่อช่วยลดเชื้อในสารละลาย  
เลี้ยงผักที่ pH สูงๆ ประมาณ 6.5-7  และ EC ต่ำๆ ประมาณ1.0-1.2 นาน ประมาณ 7 วัน เพื่อรักษารากที่เสีย และให้รากใหม่งอกออกมา ซึ่งจะทำให้เชื้อราลดลงได้  เนื่องจากเชื้อพิเทียม  เจริญได้ดีในสภาพกรดอ่อน 
*พลางแสง ช่วยลดการคายน้ำ เพื่อลดกิจกรรมของรากพืชลง  
*ใส่เชื้อราไตรโคเดอม่า เข้าไปช่วยกำจัดเชื้อพิเทียม และทำให้รากแข็งแรงขึ้นเมื่อรากแข็งแรงดี จึงค่อยกดค่า pH ลงในช่วงปกติ
hydrowork
*การป้องกันเชื้อพิเทียมให้มีจำนวนน้อย  ในช่วงหน้าร้อนนี้  
เลี้ยงผักที่ pH  ประมาณ 6.5 – 6.8  เนื่องจาก เชื้อไตรโคเดอมา จะต่อต้าน เชื้อพิเทียม ที่ pH สูง ได้ดีกว่าที่ pH ต่ำ  
*ใช้เหล็กแดง ที่เสถียรที่ Ph สูงขึ้น เช่น เหล็ก EDDHA แทน เหล็ก EDTA    เนื่องจาก เหล็ก EDTA จะตกตะกอนหมด หากสารละลายมี pH เกิน 6.5  พืชอาจขาดธาตุเหล็กได้ 
*พยายามรักษาอุณหภูมิของสารละลาย ไม่เกิน 30 องศา c เนื่องพิเทียมจะเจริญดีที่อุณหภูมิสูง

เพื่อการรักษาเยียวยาพืช  เมื่อพบการระบาดของเชื้อพิเทียม  ก่อนจะสายเกินไป  สามารถปรับใช้ได้ ตั้งแต่แปลงขนาดเล็ก จนถึงฟาร์มขนาดใหญ่เลยครับ โรครากเน่า โคนเน่า เกิดจากเชื้อรา พิเทียม ที่มักพบเจอได้บ่อย ในผักที่ปลูกในระบบ ไฮโดรโพนิกส์  โรคนี้จะแพร่ระบาดทางสารละลายธาตุอาหาร  จึงพบการระบาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นระบบที่มีการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ซ้ำ  โดยเฉพาะในระบบที่ใช้น้ำรวมกัน แบบ 1 ถัง แจกจ่ายไปใช้ทุกแปลง  จะยิ่งเพิ่มการระบาดในวงกว้างมากขึ้นครับ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การดูแลต้นไม้รับหน้าฝน

อาจจะดูเหมือนว่าฤดูฝนน่าจะเป็นฤดูที่ดีที่สุดสำหรับการปลูกต้นไม้ แต่ในความเป็นจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น ลองมาดูวิธีการดูแลต้นไม้ในหน้าฝนดีกว่า เพื่อให้ต้นไม้แสนสวยอยู่กับเราไปนาน ๆ โดยที่ไม่เหี่ยวเฉาหรือตายเพราะการรับน้ำของฤดูฝนที่มากเกินไป

1. ตัดแต่งกิ่งเมื่อเข้าหน้าฝน

เมื่อฤดูฝนใกล้จะมาเยือน เราควรเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลด้วยการกำจัดกิ่งไม้ที่อาจหัก ได้ง่าย เพราะหากปล่อยให้ต้นไม้มีกิ่งก้านที่หนาทึบเกินไป โดยที่ไม่ทำการตัดแต่งเลย อาจจะทำให้กิ่งไม้นั้นหักหล่นลงมาทำลายความเสียหายให้กับทรัพย์สิน บ้านเรือน หรือร่างกายได้ และในกรณีต้นไม้ที่ปลูกใหม่ ต้องไม่ลืมที่จะค้ำพยุงต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้มีแรงพยุงยึดเกาะดิน และไม่โอนเอนไปตามแรงลมจนถึงขั้นล้มหักได้

2. ป้องกันน้ำท่วมขัง

เพื่อป้องกันอาการรากเน่าของต้นไม้ นอกจากจะต้องทำเนินดินเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นไม้แล้ว เรายังต้องทำระบบระบายน้ำจากบริเวณรอบโคนต้นไม้ด้วย เพื่อให้น้ำฝนที่ตกลงมายังต้นไม้ระบายออกให้เร็วที่สุด แต่สำหรับการทำเนินดินนั้นเราต้องระวังไม่ให้ดินที่นำมาปรับเนินนั้นมี ปริมาณมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสียกับต้นไม้แทน

3. ฉีดยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

สิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้สำหรับการดูแลต้นไม้ คือ การหมั่นดูแลรักษา กำจัดแมลงและศัตรูพืชอื่น ๆ โดยเฉพาะเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ต้นไม้แสนรักของเรามีสุขภาพที่แย่ลง อีกทั้งวัชพืชนั้นเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน หากเราเผลอหรือละเลยก็อาจจะทำให้วัชพืชเหล่านั้นทำให้ต้นไม้อ่อนแอลงและตาย ในที่สุด

4. บำรุงต้นไม้อย่างถูกวิธี

การดูแลต้นไม้ให้ได้ผลผลิตออกมางอกงามได้อย่างใจเรานั้น ไม่เพียงแต่จะต้องหมั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ยหรือพรวนดินเท่านั้น หากแต่ยังต้องใส่ใจต่อสิ่งที่เราทำให้ต้นไม้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพรวนดินซึ่งเราอาจจะต้องพรวนดินให้ผิวดินแห้งและให้รากไม้ใน ระดับหน้าดินได้ออกมารับออกซิเจนบ้าง อีกทั้งการใส่ปุ๋ยนั้นไม่ควรใส่มากจนเกินไป และรีบพรวนดินให้ดินกลบปุ๋ยก่อนที่น้ำฝนจะมาชะล้างปุ๋ยไปจนหมด เพราะนั่นไม่เพียงแต่จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังไม่ทำให้เกิดประโยชน์อันใดกับต้นไม้ด้วย...
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไผ่หกยักษ์ไผ่ลำใหญ่เมืองน่าน


ไผ่หกยักษ์(สายพันธุ์น่าน)

ไผ่หกยักษ์ ไผ่ลำใหญ่ เนื้อหนาลำตรงสวย
The giant bamboo (species, Nan).
เป็นไผ่ขนาดใหญ่ที่สุดรองลงมาจากไผ่ยักษ์เมืองน่าน(เป็นเบอร์2)ขนาดลำไม้โตเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-9 นิ้ว ยาว 30-40 เมตร น้ำหนักต่อลำ 150-250 กิโลกรัม เนื้อไม้ตรงยาวเรียว
สีน้ำตาลออกเขียวๆ เนื้อไม้หนามาก หนาที่สุดในบรรดาไผ่ ในประเทศไทยทุกสายพันธุ์ คือ หนาข้างละ 3 นิ้ว ที่โคนต้น แล้วยาวไปสุดปลายลำ แม้กลางลำที่ 15 เมตร ก็ยังหนามากอยู่ หนากว่าไผ่ซางหม่น มีขนาดใหญ่กว่าไผ่ซางหม่นที่ว่าลำหนาแล้ว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากโดยเฉพาะทำศาลาไม้ไผ่สำเร็จรูป
บ้านน็อกดาว ทำเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียง หนาเหมือนไม้จริง ลำไม้ไม่แตกเมื่อทิ้งให้แห้งไปแล้วจึงใช้ทำแพได้ดี คงทนที่สุด ใช้ทำไม้ซี่, ทำพื้นปาร์เก้ ทำฝาบ้าน ทำเสารีสอร์ทเพิ่มมูลค่าได้มาก หน่อมีขนาดใหญ่มาก ใช้บริโภคได้ทำอาหารได้ทุกชนิด

หน่อมีลักษณะมีขนสีดำ ลักษณะเหมือนไผ่ตงมากจึงขายง่าย เป็นที่ยอมรับของตลาด น้ำหนักต่อหน่อเมื่อโตเต็มที่ 40-70 กิโลกรัม ขนาดหน่อใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากไผ่ยักษ์เมืองน่าน ขนาดลำไม้แม้จะเล็กกว่าไผ่ยักษ์เมืองน่านเล็กน้อยแต่ความหนาทำให้เป็นที่ยอมรับของตลาดเฟอร์นิเจอร์เป็นอย่างมาก

ข้อดีของไผ่หกยักษ์
1. ลำมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากไผ่ยักษ์เมืองน่าน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-9 นิ้ว

2. ลำมีความยาวมาก 30-40 เมตร ทำให้ได้เนื้อไม้ไว้ใช้สอยเยอะมากกว่าไผ่อย่างอื่น

3. ลำมีน้ำหนักมาก คือ 150-250 กิโลกรัมต่อลำเนื้อไม้ หนาใช้ทำเชื้อเพลิงชีวมวลได้ดี

4. โตเร็วกว่าไผ่ยักษ์เมืองน่าน ต้นกล้าอดทนต่อการขนส่ง การปลูก ดูแลรักษาง่ายมาก ปลูกได้โดยไม่ต้องพรางแสงแดด อัตราการรอดตายเมื่อปลูกสูงกว่า 95% ปลูกเพียง 2 ปีเริ่มลำใหญ่ 4-5 ลำแล้ว
ให้ลำจำนวนมากต่อปี

5. หน่อใช้บริโภคได้อร่อย ขายได้หน่อขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ลักษณะทางกายภาพ, สี เหมือนไผ่ตง ขายง่ายเป็นที่ต้องการของตลาดหน่อไม้ทั่วไป

6. ลำไม้หนามากเป็นที่ต้องการของตลาดเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป ใช้ทำโต๊ะ, เตียง, เก้าอี้นั่ง, ม้าโยก, ทำแพไม่รั่ว
ไม้ไม่แตกเหมือนไผ่ชนิดอื่น, ทำเสารีสอร์ท, ศาลาสำเร็จรูป

7. ปลูกใช้ไม้ทำเชื้อเพลิงชีวมวลได้ดีมาก เพราะโตเร็วขนาดใหญ่ ให้ลำเยอะ น้ำหนักต่อลำเยอะ เนื้อแน่น
เมื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงจึงให้พลังความร้อนดีมาก

8. ปลูกประดับสำนักงาน อาคาร สถานที่ ให้สวยงาม สวนสาธารณะ วัด โรงเรียน ไว้ใช้ไม้ด้วย ประดับด้วยเหมาะกับ อบต.ด้วย ศาลาประชาคมไว้ใช้ไม้

9. ทนแห้งแล้งได้ดีมาก ไม่ต้องรดน้ำขึ้นได้ในทุกสภาพดิน
ไผ่หกยักษ์ต่างจากไผ่ตงดำใหญ่ คือ ลำไม้ยาวและตรงกว่า เนื้อไม้หนากว่า ตรงข้อไม่มีนูนขึ้นมาไม้จะตรง
ไปเลยแม้ตามข้อปล้อง หน่อมีขนาดใหญ่กว่าและดก
เป็นไผ่ขนาดใหญ่มาก (8-9 นิ้ว) เนื้อหนามาก( 2-5 เซนติเมตร) ลำยาว เรียวตรงดีใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดีมาก

ใช้เป็นเสาบ้าน กระท่อม โรงเรือน แพ ขนาดใหญ่สวยงามทนทาน
ใช้ทำเป็นไม้พื้นปาร์เก้ ทำเชื้อเพลิงชีวมวล เนื่องจากมีน้ำหนักต่อลำ 150-270 กิโลกรัมมีเนื้อไม้เสมือนไม้จริง หน่อมีขนาดใหญ่มาก (ใหญ่เต็มที่ 40-70 กิโลกรัม) เป็นที่ต้องการของตลาดเพราะมีลักษณะเหมือนไผ่ตงทั่วไปมาก จัดเป็นไผ่ยักษ์สารพัดประโยชน์ที่น่าปลูกที่สุดตัวหนึ่ง
เรียบเรียงข้อมูลโดย menmen

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ลักษณะและประโยชน์ของหญ้าแฝก


ลักษณะของหญ้าแฝก

หญ้าแฝกมีชื่อสามัญว่า Vetiver Grass มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemuoralis A. Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็น พืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม. มีส่วนกว้างประมาณ 5-9 มม. สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อจากส่วนลำต้นใต้ดิน หรือแบบอาศัยเพศ โดยการใช้ดอกและเมล็ดได้เช่นกัน ช่อดอกที่พบในประเทศไทย สูงประมาณ 20-30 ซม. แต่การขยายพันธุ์โดยดอกและเมล็ดเป็นไปค่อนข้างยาก หญ้าแฝกจึงไม่ใช่วัชพืชเช่นหญ้าคา
ปกติหญ้าแฝกจะมีการการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า หญ้าแฝกในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อแขนงดังกล่าวมีการเจริญเติบโตจะเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น ทำให้หญ้าแฝกโน้มลงดินและสามารถเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่


การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

1. การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน การปลูกแบบนี้จะเห็นผลดียิ่ง เมื่อหญ้าแฝกมีความเจริญและแตกกอขึ้นเต็มตลอดแนวจนไม่มีช่องว่าง ซึ่งถือว่ามีประโยชน์สูงสุด เพราะเมื่อมีน้ำไหลบ่าหรือมีการพัดพาดินไปกระทบแถวของหญ้าแฝก แฝกจะทำหน้าที่ชะลอความเร็วของน้ำลงและดักเก็บตะกอนดินไว้ ส่วนน้ำจะไหลบ่าซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินเบื้องล่างและน้ำที่ผิวดินก็ไหลผ่าน แนวต้นหญ้าแฝกไปได้ ส่วนรากหญ้าแฝกนั้นก็หยั่งลึกลงไปในดินอาจลึกถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดิน ป้องกันการชะล้างได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการชะล้างแบบเป็นหน้ากระดาน หรือเป็นร่องลึก และแบบอุโมงค์เล็กใต้ดิน เมื่อแถวหญ้าแฝกทำหน้าที่ดักตะกอนดินเป็นระยะเวลานานขึ้น ก็จะเกิดการสะสมทับถมกันของตะกอนดินบริเวณหน้าแถวหญ้าแฝกเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี กลายเป็นคันดินธรรมชาติในที่สุด

2. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินที่เป็นร่องน้ำลึก เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ปัญหาบริเวณร่องน้ำลึกโดยการปลูกหญ้าแฝกในแนว ขวาง 1 แถวเหนือบริเวณร่องลึก และใช้ถุงทรายหรือดินเรียงเป็นแนวเพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าใน ระยะที่แฝกเริ่มตั้งตัว

3. การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะทางแถบภาคเหนือและภาคใต้ มาตรการที่เหมาะสม คือการปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในช่วงฤดูฝน โดยการไถพรวนดินนำร่องแล้วปลูกหญ้าแฝกลงในร่องไถ ระยะปลูกระหว่างต้นต่อหลุม 3-5 เหง้าต่อหลุม ระยะห่างระหว่างแถวแฝกจะไม่เกิน 2 เมตรตามแนวตั้ง หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4-6 เดือน ในพื้นที่แห้งแล้งควรตัดหญ้าแฝกให้สูงประมาณ 30-50 ซม. เพื่อเร่งให้มีการแตกกอควรตัด 1-2 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ การตัดหญ้าแฝกต้องกระทำในทุกพื้นที่และใช้ใบคลุมดินด้วย

4. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน เป็นการปลูกไม้ผลร่วมกับแถวหญ้าแฝกในระยะแรกเริ่ม หรือปลูกแฝกสลับกับต้นไม้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ เช่น ในมาเลเซียมีการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวในระหว่างแถวปลูกยางพารา เมื่อต้นหญ้าแฝกเจริญเติบโตประมาณ 1 ปี ก็สามารถตัดใบใช้ประโยชน์ในการเป็นวัสดุคลุมดินบริเวณโคนยางพาราเพื่อรักษา ความชุ่มชื้น โดยที่เศษใบแฝกจะไม่เป็นพาหะของโรคและแมลง การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน กระทำได้ 3 วิธีการ คือ

ปลูก หญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลประมาณ 1 เมตร และนำใบของหญ้าแฝกมาคลุมโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ปลูกแบบครึ่งวงกลมรอบไม้ผล ซึ่งทรงเรียกว่า "ฮวงซุ้ย" โดยปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้น รัศมีจากโคนต้นไม้ผล 1.5-2 เมตร

ปลูกแบบครึ่งวงกลมหันหน้าเข้าหาแนวลาดชัน แนวหญ้าแฝกจะดักตะกอนดินที่จะไหลบ่าลงมาเก็บกักไว้ที่โคนต้นไม้

5. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบ เขา ในพื้นที่ลาดชันมักนิยมปลูกบนขั้นบันไดดินหรือมีการก่อสร้างคันคูดินรอบเขา ซึ่งเป็นการลงทุนสูงการป้องกันการเสียหายก็โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวใน บริเวณขอบขั้นบันไดดิน หรือคันคูดิน

6. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำ โดยการนำหญ้าแฝกไปปลูกในร่องน้ำด้วยการขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำเป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรย้อนทางกับทิศทางไหล ในลักษณะตัว V คว่ำ ซึ่งทรงเรียกว่า "บั้งจ่า" เพื่อควบคุมการเกิดร่องน้ำแบบลึกหรือการปลูกในร่องน้ำล้น โดยปลูกตามแนวระดับเพื่อกักน้ำและช่วยกระจายน้ำไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกผลของ การปลูกหญ้าแฝกแบบนี้จะช่วยดักตะกอนและสามารถชะลอความเร็วของน้ำให้ลดลงด้วย

7. การปลูกหญ้าแฝกในการป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำและอ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวบริเวณสองข้างทางคลองส่งน้ำ จะช่วยกันตะกอนดินที่ไหลลงมาซึ่งในส่วนของการปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอน ดินนั้น ใช้วิธีการปลูกตามแนวระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนว และควรปลูกเพิ่มขึ้นอีก 1-2 แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ในระยะแรกควรดูแลปลูกแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่าลงมาตะกอนดินจะติดค้างอยู่บนแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อยๆ ไหลซึมลงสระและรากหญ้าแฝกจะช่วยยึดดินรอบๆ สระ มิให้พังทลายได้เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขุดลอกสระด้วย

8. การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ดำเนินการในโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรีและตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางความลาดเทในดินลูกรังที่เสื่อมโทรมจากการถูกชะ ล้างของผิวหน้าดิน จนกระทั่งเกิดความแห้งแล้งและมีผิวหน้าดินแข็ง ขาดพืชพรรณธรรมชาติปกคลุม การปลูกหญ้าแฝกแบบนี้จะช่วยชะลอความเร็วของน้ำไหลบ่า ทำให้น้ำซึมลงดินได้ลึกเกิดความชุ่มชื้นต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้

9. การปลูกในพื้นที่ดินดาน ดำเนินการศึกษาที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ทรายแข็ง ดินเหนียว หินปูน และแร่ธาตุต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นแผ่นแข็งคล้ายหิน ยากที่พืชชั้นสูงจะเจริญเติบโตได้ เมื่อทำการปลูกหญ้าแฝกในดินดานพบว่ารากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในเนื้อ ดินดานทำให้ดินแตกร่วนขึ้น สำหรับหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น ในแนวของหญ้าแฝกสามารถปลูกพันธุ์ไม้ได้หลายชนิด เช่น กระถินเทพา สะเดา ประดู่ ฯลฯ เมื่อมีการปลูกหญ้าแฝกร่วมกับไม้ผล รากของหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน เป็นการสลายดินล่วงหน้าก่อนที่รากไม้ผลจะหยั่งลึกลงไปถึง

10. การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินบริเวณไหล่ถนน ดำเนินการในพื้นที่ดินตัดและดินถมข้างทางเป็นการปลูกเพื่อป้องกันการพังทลาย ของดินในส่วนของไหล่ทางที่เปิดและไหล่ทางด้านข้าง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทางและปลูกขวาง แนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน

11. การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ ในปัจจุบันได้มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตและเพื่อการเพิ่มผลผลิต ของพืชกันมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ดินในประเทศเขตร้อนมักขาดอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรได้มีการนำสารเคมีมาใช้ในการปลูกพืช มากขึ้น เช่น สารไนไตรทที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยก็ดี โลหะหนักและสารเคมีที่เป็นพิษอันเนื่องมาจากการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืช และศัตรูพืชก็ดี สารเหล่านี้หากถูกชะล้างลงในแหล่งน้ำ จะทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม การศึกษาทดลองที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ พิสูจน์ได้ว่ากอหญ้าแฝกที่ปลูกเป็นแนวขวางตามลาดเทของพื้นที่สามารถจะ ยับยั้ง และลดการสูญเสียหน้าดินบนพื้นที่ลาดชัดได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันรากหญ้าแฝกที่มีการแพร่กระจาย อย่างหนาแน่นและหยั่งลึก จะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำ ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง นอกจากนี้ตัวของรากหญ้าแฝกเอง น่าจะมีประสิทธิภาพในการที่จะดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดี กว่าพืชชนิดอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถของรากหญ้าแฝกในการที่หยั่งลึกและแผ่กว้างได้ มากกว่ารากหญ้าชนิดอื่น ๆ

ประโยชน์อเนกประสงค์อื่นๆ จากหญ้าแฝก

ปลูก หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขนานไปตามคลองส่งน้ำ หรือแม่น้ำลำคลอง ซึ่งแถวหญ้าแฝกจะช่วยในการดักตะกอนดิน และกรองขยะมูลฝอยไม่ให้ลงไปสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะเป็นเป็นสาเหตุให้เกิดการตื้นเขินและน้ำเน่าเสีย การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยให้น้ำในแหล่งน้ำมีความสะอาดยิ่งขึ้น

ใบ และต้นหญ้าแฝกเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยหมัก ใบของหญ้าแฝกเป็นอาหารสัตว์ได้ พบว่าจากแหล่งพันธุ์กำแพงเพชร 2 มีคุณค่าทางอาหารสัตว์ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ ทั้งปริมาณโปรตีนหยาบ วัตถุแห้งที่ย่อยได้ค่า NDS และแร่ธาตุต่าง ๆ ส่วนหญ้าแฝกที่มีอายุการตัด 4 สัปดาห์ มีความเหมาะสมที่สุดทั้งด้านการให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังพบว่าใบอ่อนของหญ้าแฝกสามารถนำมาบดเลี้ยงปลาและเป็นอาหารสัตว์ ได้ แต่ใบแก่ใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสัตว์น้อยกว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ มีความสากคาย นอกจากนั้นต้นและใบของหญ้าแฝกนำมาทำปุ๋ยหมัก ภายใน 60-120 วัน สภาพของต้นและใบแฝกจะมีการย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างสมบูรณ์มีปริมาณธาตุ อาหารที่สำคัญให้สารปรับปรุงบำรุงดินอีกด้วย

ปลูก หญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคาและอื่นๆ ในบ้าน โดยการใช้ใบที่แห้งแล้งมาสานเรียงกันเป็นตับเพื่อทำเป็นหลังคาบ้านเรือน ที่พักผ่อนหย่อนใจ หลังคาร้านค้า เป็นต้น ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า ทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้

หญ้า แฝกใช้ทำสมุนไพรและน้ำหอมได้ มีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไขได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ เช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ "Vitiver"

ทฤษฎีป้องกันดินเสื่อมโทรมโดยใช้ หญ้าแฝก


ทฤษฎีป้องกันดินเสื่อมโทรมและการพังทลายของดิน โดยใช้ หญ้าแฝก (Vetiver Grass)

การชะล้างพังทลายของดินก่อให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ซึ่งสะสมในดินรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติ

สภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินส่วนใหญ่ เกิดจากกรณีผิวหน้าดินถูกกัดเซาะจากฝนที่ตกลงมาและน้ำที่ไหลบ่าหน้าดินเป็น จำนวนมากเช่นนี้ ทำให้หน้าดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไป บางครั้งยังเกิดปัญหาดินพังทลาย ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพื้นที่ทางการเกษตรกรรมสูง ทำให้ผลผลิตลดลง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ

จากการไหลบ่าของน้ำฝนเป็นจำนวนมากนี้เองเมื่อไม่มีสิ่งใดมากั้นชะลอไว้ ทำให้พื้นดินไม่สามารถเก็บกักน้ำฝนได้เต็มที่ และผิวหน้าดินจะถูกกัดเซาะพังทลายอย่างรุนแรง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาถึงศักยภาพของ "หญ้าแฝก" ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดินไว้ อีกทั้งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย วิธีการปลูกก็ใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยว กับหญ้าแฝก มีใจความสรุปได้ว่า

* หญ้าแฝกเป็นพืช ที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาทดลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาและพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศูนย์ศึกษา การพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
* การดำเนินการศึกษาทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้
o การปลูกหญ้าแฝก บนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขาเพื่อป้องกันการ พังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
o การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นราบให้ดำเนินการในลักษณะ ดังนี้
+ ปลูกโดยรอบแปลง
+ ปลูกลงในแปลง ๆ ละ 1 หรือ 2 แนว
+ สำหรับแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
o การปลูก หญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขิน อันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนืออ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำให้ทวี ความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว
o การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงแหล่งน้ำ

การทำหญ้าหมัก






















การทำหญ้าหมัก

หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบน้ำ ในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ จากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ สามารถถนอมไว้ใช้ได้ใน ช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการหมักได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝน ซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังไม่สามารถเก็บถนอมโดยการ ทำหญ้าแห้งได้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก
1. เครื่องตัดหญ้า สับหญ้า

2. ภาชนะที่ใช้บรรจุหญ้าสำหรับหมัก เช่น หลุม ถัง ถุงพลาสติก

3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก ถ้าใช้ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่จำเป็นต้องเสริม

4. ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หลุม หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก

วิธีการทำหญ้าหมัก

หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม. บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในภาชนะสำหรับหมัก ซึ่งอาจเป็นถุง บ่อซีเมนต์ หลุม ย่ำอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในภาชนะ ละลายกากน้ำตาล พรมให้ทั่ว ๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ไม่ต้องใช้ จากนั้นทำการปิดภาชนะบรรจุหญ้า ด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิดแล้วโรยทับด้วยทรายป้องกันอากาศและน้ำ หลังจากปิดภาชนะแล้ว หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
หญ้าหมักที่มีคุณภาพดีสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยที่คุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง

การใช้หญ้าหมักเลี้ยงโครีดนม ไม่ควรใช้เกิน 15 กิโลกรัมต่อวัน และควรให้หลังการรีดนม กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน
1. กลิ่นหอมเปรี้ยว ไม่เน่าเหม็น

2. เนื้อพืชไม่เป็นเมือก ไม่เละ

3. สีเขียวอมเหลือง

4. รสเปรี้ยวพอดี

5. ไม่มีเชื้อรา หรือส่วนบูดเน่า
ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก
1. การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด

2. การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก

3. เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง

4. หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน

5. ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

สนฉัตร์


สนฉัตร์ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Aruacaria heterophylla.
ARUCARIACEAE

ตระกูล Nolไม้มงคล
สนฉัตร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ folk island pine


ลักษณะทั่วไป
สนฉัตร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ

ขึ้นรอบต้น ลำต้นกลมทรงพุ่มโปร่ง และมีเกล็๋ดใบเล็ก ๆ ออกตามต้นส่วนยอดการเจริญแตกกิ่งก้านเป็นชั้นๆออกไปตาม แนวนอน ส่วนลำต้นขึ้นตรงไปใบเป็นใบกระกอบออกตามกิ่งก้านเป็นเกล็ด มีลักษณะเป็นขนสั้นเล็กมีสีเขียว เรียงตัวกันแน่น

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นสนฉัตรไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดความสนใจจากบุคคลทั่วไป เพราะ สน คือการสนใจ เห็นใจ ในสิ่งที่ดีงามนอกจากนี้ยังทำให้มีเกียรติและความสง่า เพราะ สนฉัตร มีทรงพุ่มลักษณะคล้ายเครื่องสูงที่ใช้ในพิธแห่เกียรติยศ และลักษณะการเจริญของลำต้นกิ่งก้านเด่นชัด ตระหว่านงาม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นสนฉัตรไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็ฯมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การปลูกมี 2 วิธี
1 .การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร นิยมใช้กับต้นสนฉัตรอายุระหว่าง 1-3 ป การปลูกควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด12-18 นิ้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะ สมของทรงพุ่ม ถ้าต้นสนฉัตรมีอาจุมากกว่า 5 ป ขึ้นไป เหมาะที่จะปลูกในแปลงปลูกเพราะทรงพุ่มโตขึ้น

การดูแลรักษาการป้องกัน
การกำจัดศัตรูพืช ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นสูง
ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-5 ครั้ง
การปักชำ การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

โรครากเน่า
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร
ใบซีดเหลือง ร่วง และแห้งตาย เกิดบริเวณปลายกิ่ง
ควบคุมการให้น้ำ และความชื้นในดินที่เหมาะสม
ใช้ยาแคปแทน ไซแนบ อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

เราหวังว่า เกษตรทุกท่านได้ประโยชน์ที่อ่านบทความนี้ตามพอสมควร

รายการบล็อกของฉัน